One Only Way

Bhikkhus, this is the one and the only way
for the purification (of the minds) of beings,
for overcoming sorrow and lamentation,
for the cessation of physical and mental pain,
for attainment of the Noble Path.
and for the realization of Nibbana .
That (only way) is the four satipatthanas .
Powered By Blogger

คำนำ

One Only Way เป็น Blog เพื่อการเรียนรู้ มหาสติปัฏฐานสูตร

ผู้เรียบเรียงได้นำมหาสติปัฏฐานสูตร จากพระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ มาจัดย่อหน้า วรรคตอนใหม่ เพื่อให้สามารถอ่าน ทำความเข้าใจและจดจำได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ได้นำฉบับแปลภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส มาเทียบเคียงกับภาษาไทย เพื่อเพิ่มความเข้าใจ ท่านที่เคยอ่านสูตรนี้ โปรดดูและพิจารณาโครงสร้างของมหาสติปัฏฐานสูตรด้วย
ผู้เรียบเรียงขอกราบนมัสการด้วยความเคารพและระลึกในพระคุณของท่านผู้แปลทุกท่าน
ขอขอบพระคุณในทุกความเห็น คำแนะนำ และการชี้ข้อผิดพลาดที่มีอยู่ ทั้งนี้เพื่อนำมาเป็นข้อมูลสำคัญในการปรับปรุงแก้ไข และเป็นประโยชน์ในการร่วมกันเรียนรู้มหาสติปัฏฐานสูตรตลอดไป


________________________________________________
Powered By Blogger

ทำไมมนุษย์ทุกคนควรเรียนรู้ มหาสติปัฏฐานสูตร ?

  • มหาสติปัฏฐานสูตร เป็นหนทางเดียวเท่านั้นที่จักนำตน พ้นจากความชั่ว ไปสู่ความดี และมีใจผ่องใสในท่ีีสุด พระพุทธองค๋ได้ทรงแสดงไว้อย่างชัดเจน ตั้งแต่วัตถุประสงค์ เป้าหมาบ วิธีการ และผลท่ีจะได้รับ ในกำหนดเวลาน้อยที่สุดเพียง 7 วัน เท่านั้น
  • " ก็ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้ อย่างนี้ ตลอด ๗ วัน เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ
  • พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือ เมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑
  • จากข้อ [๓๐๐] มหาสติปัฏฐานสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐.
  • ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า " ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อที่เต่าตาบอด ต่อล่วงร้อยปีๆ มันจะโผล่ขึ้นคราวหนึ่งๆ จะสอดคอเข้าไปในแอกซึ่งมีช่องเดียวโน้นเป็นของยาก."
  • พระผู้มีพระภาค " ฉันนั้นภิกษุทั้งหลาย การได้ความเป็นมนุษย์เป็นของยาก พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าจะอุบัติในโลกเป็นของยาก ธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้วจะรุ่งเรืองในโลกก็เป็นของยาก
  • ความเป็นมนุษย์นี้เขาได้แล้ว พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าอุบัติแล้วในโลก และธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้วก็รุ่งเรืองอยู่ในโลก
  • ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละเธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
  • จาก ข้อ[๑๗๔๔] ว่าด้วยการได้ความเป็นมนุษย์ยาก พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค

การได้ความเป็นมนุษย์ยาก

การได้ความเป็นมนุษย์ยาก
โปรดคลิกที่รูป

เรามีเวลาเหลือ

หากเรามีชีวิตอยู่ถึงวันพรุ่งนี้ เรามีเวลาเหลือ




ชีวิตนั้นสั้นนักหนา สิ้นสุดได้ทุกขณะ มรณะมาเมื่อใดมิรู้ได้

Powered By Blogger

ความเร็วจิต

  • ลัดนิ้วมือเดียว จิตเกิดดับ แสนโกฏิขณะ ( 1 โกฏิ = 10 ล้าน)
  • ลัดนิ้วมือเดียว ระยะประมาณ 9 ซม. กินเวลาประมาณ 1 วินาที
  • แสนโกฏิ = 1,000,000,000,000 ( 1 ล้าน ล้าน )
  • 1 GHz = 1,000,000,000 Hz = 1,000 MHz
  • ความเร็วจิต = 1,000 GHz
  • เครื่องคอมพืวเตอร์ที่ใช้กันอยู่มีความเร็วท่ีสุด 3 GHz
  • ความเร็วแสง = 300,000  กม./ วินาที
  • ความเร็วจิต = 90,000,000  กม./ วินาที
  • เร็วกว่าแสง 300 เท่า [ ผิดถูก ท่านผู้รู้ โปรดพิสูจน์ด้วย ]

21 มิถุนายน 2550

การเรียนรู้มหาสติปัฏฐานสูตร




แหล่งข้อมูลภายนอก

1. หนังสือ และสื่ออื่นๆ



มหาสติปัฏฐานสูตร ที่ ๙
พระไตรปิฏก ฉบับสยามรัฐ เล่มที่ ๑๐
ทีฆนิกาย มหาวรรค
หน้าที่ ๒๕๗ - ๒๗๗.

BUDSIR /TT V.2

www.84000.org

Mahasatipatthana Sutta
 Translated by U Jotika & U Dhamminda
www.buddhanet.net/e-learning/mahasati.htm

The Way of Mindfulness
by Soma Thera
www.accesstoinsight.org/lib/authors/soma/wayof.html

Maha Satipatthana Sutta
GRAND DISCOURS SUR L'ETABLISSEMENT DE L'ATTENTION Collection des longs discours (Diggha Nikâya) - n° 22.
Traduction originale de Vén. Dhammapâlita Bhikkhu www.theravada.org/enseignement/textes/satipatthana.html


2. ความรู้และประสบการณ์จากวิชาอื่นๆ

3. การสังเกตความเป็นไปของชีวิตอื่น โดยเฉพาะคนอื่น

4. การสนทนาธรรมกับผู้รู้



ข้อมูลเหล่านี้เปรียบเสมือนแผนที่ หรือตำราสอนกีฬาต่างๆ เป็นเพียงการบอกทาง หรือ การบอกวิธีการเท่านั้น การจะนำตัวเองถึงจุดหมายได้ ก็ต้องเดินทางเอง เท่านั้น หรือ การที่จะเล่นกีฬาเป็นก็ต้องลงไปเล่นเอง ฝีกเอง


แหล่งข้อมูลภายใน



สิ่งที่ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ตลอดเวลา ในตัวของเราเอง

  การได้สังเกต พิจารณา และ เข้าถึงความจริง เหล่านี้ เหมือนการได้้เดินทางตามแผนที่จนถึงจุดหมาย หรือ การได้ลงหัดว่ายน้ำ จนว่ายน้ำเป็น


ภาษา



เป็นเพียงสิ่งสมมติ เป็นเพียงสื่อ แต่เป็นสิ่งจำเป็น ที่ื่จะนำไปสู่ ความเป็นจริง (ธรรม)
หากไม่มีภาษาก็ไม่สามารถสื่อกันรู้เรื่อง

สิ่งที่จริงสิ่งหนึ่ง ต่างภาษาก็เรียกต่างกันไป ตามท่ีสมมติกันไว้
เช่น ร้อน จีนว่ายั๊วะ อังกฤษว่าฮ๊อท ฝรั่งเศสว่าโชด์ คนที่ไม่รู้ภาษานั้นก็ย่อมไม่รู้ความหมาย
แต่เมื่อเข้าถึงความจริง (ธรรม) คือ เมื่อถูกของร้อน ไม่ว่าคนชาติไหนภาษาไหนก็ย่อมรู้ตรงกัน

ภาษาเป็นตัวอย่างที่ดีของการศึกษาธรรม การที่เราสามารถอ่านหนังสือได้นั้น
เพราะว่าเราจำ อักษร สระ วรรณยุกต์ได้ และ รู้ว่าเมื่อผสมกันแล้ว อ่านออกเสียงอย่างไร หมายถีงอะไร
เช่นเดียวกับการเรียนรู้ธรรม เมื่อมีสิ่งใดเกิดขี้นในกาย หรือในใจของเรา ก็รู้สิ่งนั้น รู้สึกอย่างไร จดจำได้
และเรียกตามภาษาที่สมมติกัน เพื่อสื่อกันให้เข้าใจได้
เราสามารถอ่านใจของเราเองได้ เมื่อตามรู้ด้วยสติ มีสมาธิ และเกิดปัญญาเหมือนอ่าน หนังสือรู้เรื่อง
เมื่อพิจารณาตามความเป็นจริงก็จะพบเหตุที่ทำให้เกิดสิ่งนั้น และเมื่อหมดเหตุ สิ่งนั้นก็ย่อมดับ
หากขาดสติ สิ่งที่จะเกิดก็เป็นไปตาม ความยินดี ความยินร้ายที่เกิดขึ้น



เครื่องมือ



ใช้

ความเพียร

สัมปชัญญะ

สติ


เหมือนการเดินจากจุด ไปยังจุด

ความเพียร คือ การเริ่มต้นก้าวแรกจากจุด และก้าวต่อไปอย่างต่อเนื่อง จนถึงจุด
ในขณะเดียวกันก็ป้องกันและกำจัดความต้องการอื่น เช่น หยุดเดิน เดินถอยหลัง หรืิอ เดินไปทางอื่น

สัมปชัญญะ คือ ทำความรู้สึกตัวตลอดว่ากำลังทำอะไรอยู่และ จะทำอย่างไรเพื่อให้ไปถีงจุด

สติ คือ รู้สิ่งที่กำลังปรากฏขึ้นในขณะปัจจุบัน ในทุกย่างก้าวที่เดิน อย่างชัดเจน



การเตรียมตัว



1. อ่านแล้วอย่าเชื่อทันที คำถามเป็นต้นทางของปัญญา

2. อ่านสูตรนี้ซ้ำหลายๆครั้ง ความรู้ใหม่เกิดขึ้นเสมอ

3. คัดลอกแล้วจัดข้อความและวรรคตอนใหม่
ให้สีข้อความ เพื่อให้อ่าน เข้าใจ และจำ ง่ายขึ้น
เสร็จแล้วอ่านสูตรนี้ซ้ำอีกหลายๆครั้ง

4. วิเคราะห์รูปแบบและโครงสร้างของสูตรนี้

5. ต้องรู้ให้ชัดว่าอะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นผล ในขณะนั้น เช่น ไม่ยึดมั่น เป็นผล ใจเย็นๆ ก็เป็นผล เหตุ คือ ทำอย่างไรถึง
ให้เกิดผลนั้น ซึ่งเป็นเรื่องท่ีต้องเรียน ฝึกฝน จนรู้จริง จึงเกิดผลได้ มิใช่เกิดขึ้นได้เพียงแค่นึก หรือพูด





แนวทางการเรียนรู้



เริ่มต้นด้วยการดู มหาสติปัฏฐานสูตร ในภาพกว้าง แล้วค่อยดูรายละเอียด
ในแต่ละบรรพ


อะไร



หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก หนทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ


เพื่ออะไร



เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์

เพื่อล่วงความโศกและปริเทวะ

เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส

เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง

เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน

๔ ประการ เป็นอย่างไร



ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้

พิจารณาเห็นกายในกายอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑

พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑

พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑

พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑ ฯ


เป้าหมาย



กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้

ด้วยการเดินตาม หนทางนี้ อันเป็น
หนทางเดียว ไม่มีืทางอื่น

หนทางนี้ คือ
สติปัฏฐาน ๔ ประการ

พิจารณาเห็น.....ใน.....อยู่
มีความเพียร
มีสัมปชัญญะ
มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑

..... = 1. กาย 2. เวทนา 3. จิต 4. ธรรม


ทุกๆบทต้องมีเป้าหมายนี้
จบอุทเทสวารกถา



ถาม



ภิกษุพิจารณาเห็น.....ใน.....อยู่อย่างไรเล่า?
..... = กาย เวทนา จิต ธรรม


อธิบาย



ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง

แบบที่ 1 เมื่อ ----- ก็รู้ชัดว่า เรา -----

----- = กรรม + ( คุณศัพท์ )

พบใน อานาปานบรรพ

อิริยาปถบรรพ

แบบที่ 2 ภิกษุย่อมทำความรู้สึกตัว ใน -----

พบใน สัมปชัญญบรรพ

แบบที่ 3 ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แหละ

พบใน ปฏิกูลมนสิการบรรพ

ธาตุมนสิการบรรพ

แบบที่ 4 ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้่า

พบใน นวสีวถิกาบรรพ


ตัวอย่าง ที่ทรงแสดง



อานาปานบรรพ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นายช่างกลึงหรือลูกมือของนายช่างกลึงผู้ขยัน
เมื่อชักเชือกกลึงยาว ก็รู้ชัดว่า เราชักยาว
เมื่อชักเชือกกลึงสั้น ก็รู้ชัดว่า เราชักสั้น

ปฏิกูลมนสิการบรรพ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนไถ้มีปากสองข้าง
เต็มด้วยธัญชาติต่างชนิด คือ
ข้าวสาลี ข้าวเปลือก ถั่วเขียว ถั่วเหลือง งา ข้าวสาร
บุรุษผู้มีนัยน์ตาดีแก้ไถ้นั้นแล้ว พึงเห็นได้ว่า
นี้ข้าวสาลี นี้ข้าวเปลือก นี้ถั่วเขียว นี้ถั่วเหลือง นี้งา นี้ข้าวสาร ฉันใด

ธาตุมนสิการบรรพ

คนฆ่าโคหรือลูกมือของคนฆ่าโคผู้ขยัน
ฆ่าโคแล้ว แบ่งออกเป็นส่วน
นั่งอยู่ที่หนทางใหญ่สี่แพร่ง ฉันใด
แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน



การพิจารณา



ทุกๆบรรพ จบด้วยข้อความข้างล่างนี้

ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อม

พิจารณาเห็น .....ใน..... ภายในบ้าง
พิจารณาเห็น .....ใน..... ภายนอกบ้าง
พิจารณาเห็น .....ใน..... ทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง
พิจารณาเห็น ธรรม คือ ความเกิดขึ้นใน ..... บ้าง
พิจารณาเห็น ธรรม คือ ความเสื่อมใน ..... บ้าง
พิจารณาเห็น ธรรม คือ ทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมใน ..... บ้าง
ย่อมอยู่

อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า ...... มีอยู่
ก็เพียงสักว่า ความรู้
เพียงสักว่า อาศัยระลึกเท่านั้น
เธอเป็นผู้ อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆในโลก

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็น ..... ใน ..... อยู่ ฯ

.... = กาย เวทนา จิต ธรรม


รายละเอียดในแต่ละบรรพ ที่แตกต่าง

กายานุปัสสนา



ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่อย่างไรเล่า

1. อานาปานบรรพ

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี
นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า
เธอมีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก

เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้ายาว
เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกยาว

เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้าสั้น
เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกสั้น

ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ตลอดกองลมหายใจทั้งปวง หายใจเข้า
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ตลอดกองลมหายใจทั้งปวง หายใจออก

ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขาร หายใจเข้า
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขาร หายใจออก

2. อิริยาปถบรรพ

ภิกษุ

เมื่อเดิน ก็รู้ชัดว่าเราเดิน

เมื่อยืน ก็รู้ชัดว่าเรายืน

เมื่อนั่ง ก็รู้ชัดว่าเรานั่ง

เมื่อนอนก็รู้ชัดว่าเรานอน หรือ

เธอตั้งกายไว้ด้วยอาการอย่างใดๆ ก็รู้ชัดอาการอย่างนั้นๆ


3. สัมปชัญญบรรพ

ภิกษุย่อมทำความรู้สึกตัว

ในการก้าว ในการถอย

ในการแล ในการเหลียว

ในการคู้เข้า ในการเหยียดออก

ในการทรงผ้าสังฆาฏิบาตรและจีวร

ในการฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม

ในการถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ

ย่อมทำความรู้สึกตัว

ในการเดิน การยืน การนั่ง การหลับ การตื่น

การพูด การนิ่ง

4. ปฏิกูลมนสิการบรรพ

ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แหละ
แต่พื้นเท้าขึ้นไป แต่ปลายผมลงมา มีหนังเป็นที่สุดรอบ เต็มด้วยของไม่สะอาด
มีประการต่างๆ ว่า มีอยู่ในกายนี้
ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง
เนื้อเอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก
ม้าม หัวใจ ตับ ผังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้ทบ อาหารใหม่ อาหารเก่า
ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา มันเหลว น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร

5. ธาตุมนสิการบรรพ

ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แหละ ซึ่งตั้งอยู่ตามที่ ตั้งอยู่ตามปรกติ
โดยความเป็นธาตุว่า มีอยู่ในกายนี้

ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม

6. นวสีวถิกาบรรพ

ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า

1.ตายแล้ววันหนึ่งบ้าง...... มีน้ำเหลืองไหลน่าเกลียด
2.อันฝูงกาจิกกินอยู่บ้าง...... หมู่สัตว์ตัวเล็กๆต่างๆ กัดกินอยู่บ้าง

3.เป็นร่างกระดูก ยังมี เนื้อ และ เลือด ยังมีเส้นเอ็นผูกรัดอยู่
4.เป็นร่างกระดูก ปราศจาก เนื้อ แต่ยังเปื้อน เลือด ยังมีเส้นเอ็นผูกรัดอยู่
5.เป็นร่างกระดูก ปราศจาก เนื้อ และเลือดแล้ว ยังมีเส้นเอ็นผูกรัดอยู่

6.เป็นกระดูก ปราศจากเส้นเอ็นผูกรัดแล้ว เรี่ยรายไป......
7.เป็นกระดูก มีสีขาว เปรียบด้วยสีสังข์
8.เป็นกระดูก กองเรียงรายอยู่แล้วเกินปีหนึ่งขึ้นไป
9.เป็นกระดูก ผุ เป็นจุณแล้ว

เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละว่า

ถึงร่างกายอันนี้เล่า ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา
คงเป็นอย่างนี้
ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้


ทุกข้อลงท้ายด้วย

ดังพรรณนามาฉะนี้ .......
อีกอย่างหนึ่ง .......
เธอเป็นผู้ อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆในโลก

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ



เวทนานุปัสสนา



ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่อย่างไรเล่า

ภิกษุในธรรมวินัยนี้

1.เสวย สุขเวทนาอยู่ ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนา หรือ
2.เสวย ทุกขเวทนา ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนา หรือ
3.เสวย อทุกขมสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนา หรือ

4.เสวย สุขเวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนามีอามิส หรือ
5.เสวย สุขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนาไม่มีอามิส หรือ

6.เสวย ทุกขเวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนามีอามิส หรือ
7.เสวย ทุกขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนาไม่มีอามิส หรือ

8.เสวย อทุกขมสุขเวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนามีอามิส หรือ
9.เสวย อทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิส

ดังพรรณนามาฉะนี้ .......
อีกอย่างหนึ่ง .......
เธอเป็นผู้ อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆในโลก

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ฯ



จิตตานุปัสสนา



ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่อย่างไรเล่า

ภิกษุในธรรมวินัยนี้

1.จิตมีราคะ ก็รู้ว่า จิตมีราคะ หรือ

2.จิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่า จิตปราศจากราคะ

3.จิตมีโทสะ ก็รู้ว่า จิตมีโทสะ หรือ

4.จิตปราศจากโทสะ ก็รู้ว่า จิตปราศจากโทสะ

5.จิตมีโมหะ ก็รู้ว่า จิตมีโมหะ หรือ

6.จิตปราศจากโมหะ ก็รู้ว่า จิตปราศจากโมหะ

7.จิตหดหู่ ก็รู้ว่า จิตหดหู่

8.จิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่า จิตฟุ้งซ่าน

9.จิตเป็นมหรคต ก็รู้ว่า จิตเป็นมหรคต หรือ

10.จิตไม่เป็นมหรคต ก็รู้ว่า จิตไม่เป็นมหรคต

11.จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่า จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือ

12.จิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่า จิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า

13.จิตเป็นสมาธิ ก็รู้ว่า จิตเป็นสมาธิ หรือ

14.จิตไม่เป็นสมาธิ ก็รู้ว่า จิตไม่เป็นสมาธิ

15.จิตหลุดพ้น ก็รู้ว่า จิตหลุดพ้น หรือ

16.จิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่า จิตไม่หลุดพ้น


ดังพรรณนามาฉะนี้ .......
อีกอย่างหนึ่ง .......
เธอเป็นผู้ อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆในโลก

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯ



ธรรมานุปัสสนา



ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ อย่างไรเล่า

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือ

1. นิวรณ์ ๕

ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือ นิวรณ์ ๕ อย่างไรเล่า

ภิกษุในธรรมวินัยนี้

เมื่อ ..... มีอยู่ ณ ภายในจิต
ย่อมรู้ชัดว่า ..... มีอยู่ ณ ภายในจิต ของเรา หรือ

เมื่อ ..... ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต
ย่อมรู้ชัดว่า ..... ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ของเรา

อนึ่ง

..... ที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
.. ... ที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
..... ที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย

..... = กามฉันท์ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา

ดังพรรณนามาฉะนี้ .......
อีกอย่างหนึ่ง .......
เธอเป็นผู้ อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆในโลก

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือ นิวรณ ์ ๕ อยู่ ฯ

2. อุปาทานขันธ์ ๕

ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือ อุปาทานขันธ์ ๕

ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือ อุปาทานขันธ์ ๕ อย่างไรเล่า

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นดังนี้ว่า

อย่างนี้รูป อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งรูป อย่างนี้ความดับแห่งรูป

อย่างนี้เวทนา อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งเวทนา อย่างนี้ความดับแห่งเวทนา

อย่างนี้สัญญา อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งสัญญา อย่างนี้ความดับแห่งสัญญา

อย่างนี้สังขาร อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งสังขาร อย่างนี้ความดับแห่งสังขาร

อย่างนี้วิญญาณ อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ อย่างนี้ความดับแห่งวิญญาณ

ดังพรรณนามาฉะนี้ .......
อีกอย่างหนึ่ง .......
เธอเป็นผู้ อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆในโลก

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือ อุปาทานขันธ์ ๕ อยู่ ฯ

3. อายตนะภายในและภายนอก ๖

ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือ อายตนะภายในและภายนอก ๖

ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออายตนะภายในและภายนอก ๖ อย่างไรเล่า

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อม รู้จัก .....
รู้จัก ---- และ
รู้จัก ..... และ ---- ทั้ง ๒ นั้น อันเป็นที่อาศัยบังเกิดของสังโยชน์

( ..... = อายตนะภายใน นัยน์ตา หู จมูก ลิ้น กายใจ )

( ---- = อายตนะภายนอก รูป เสียง กลิ่น รส สิ่งที่จะพึงถูกต้องด้วยกาย ธรรมารมณ์)

อนึ่ง

สังโยชน์ ที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย

สังโยชน์ ที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย

สังโยชน์ ที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย

ดังพรรณนามาฉะนี้ .......
อีกอย่างหนึ่ง .......
เธอเป็นผู้ อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆในโลก

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือ อายตนะภายใน
และภายนอก ๖ อยู่ ฯ

4. โพชฌงค์ ๗

[๒๙๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง

ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือ โพชฌงค์ ๗

ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคือโพชฌงค์ ๗ อย่างไรเล่า

ภิกษุในธรรมวินัยนี้

เมื่อ ..... สัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต
ย่อมรู้ชัดว่า ..... สัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือ

เมื่อ ..... สัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต
ย่อมรู้ชัดว่า ..... สัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา

อนึ่ง
..... สัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด
ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย

..... สัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะเจริญบริบูรณ์ด้วยประการใด
ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย

..... = สติ ธัมมวิจย วิริย ปิติ ปัสสัทธื สมาธิ อุเบกขา

ดังพรรณนามาฉะนี้ .......
อีกอย่างหนึ่ง .......
เธอเป็นผู้ อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆในโลก

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือ โพชฌงค์ ๗ อยู่ ฯ


5. อริยสัจ ๔

[๒๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง

ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือ อริยสัจ ๔ อยู่

ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือ อริยสัจ ๔ อยู่ อย่างไรเล่า

ภิกษุในธรรมวินัยนี้

ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงว่า

นี้ทุกข์

นี้ทุกขสมุทัย

นี้ทุกขนิโรธ

นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ฯ


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขอริยสัจเป็นไฉน

แม้ชาติก็เป็นทุกข์

แม้ชราก็เป็นทุกข์

แม้มรณะก็เป็นทุกข์

แม้ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ก็เป็นทุกข์

แม้ความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์

แม้ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักก็เป็นทุกข์

ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์

โดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นทุกข์ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็..........เป็นไฉน

ชาติ
ชรา
มรณะ
โสกะ
ปริเทวะ
ทุกข์
โทมนัส
อุปายาส
ความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก
ความพลัดพรากจากสิ่งที่รัก
ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้น
โดยย่อ อุปาทานขันธ์

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า ทุกขอริยสัจ ฯ

[๒๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย

ก็ทุกขสมุทัยอริยสัจ เป็นไฉน

ตัณหานี้ใด

อันมีความเกิดอีก ประกอบ

ด้วยความกำหนัด

ด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน เพลิดเพลินยิ่งนักในอารมณ์นั้นๆ คือ

กามตัณหา

ภวตัณหา

วิภวตัณหา ฯ

[๒๙๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย

ก็ตัณหานี้นั้น เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่ไหน

เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่ไหน

ที่ใดเป็นที่รักที่เจริญใจในโลก

ตัณหานั้น
เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้

เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้

อะไรเป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ฯ

1. ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
>>>
2. รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์
>>>
3. จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ
>>>
4. จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส
>>>
5. จักขุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา
ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา
>>>
6. รูปสัญญา สัททสัญญา คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา ธัมมสัญญา
>>>
7. รูปสัญเจตนา สัททสัญเจตนา คันธสัญเจตนา รสสัญเจตนา โผฏฐัพพสัญเจตนา ธัมมสัญเจตนา
>>>
8. รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา
>>>
9. รูปวิตก สัททวิตก คันธวิตก รสวิตก โผฏฐัพพวิตก ธัมมวิตก
>>>
10. รูปวิจาร สัททวิจาร คันธวิจาร รสวิจาร โผฏฐัพพวิจาร ธัมมวิจาร
>>>

เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก
>>> = ตัณหา เมื่อจะเกิดย่อมเกิดในที่นี้
เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ ในที่นี้ ฯ


ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า ทุกขสมุทัยอริยสัจ ฯ


[๒๙๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขนิโรธอริยสัจเป็นไฉน

ความสำรอก และ

ความดับโดยไม่เหลือ

ความสละ

ความส่งคืน

ความปล่อยวาง

ความไม่มีอาลัย

ในตัณหานั้น

ก็ตัณหานั้น

เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่ไหน

เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่ไหน

ที่ใดเป็นที่รักที่เจริญใจในโลก

ตัณหานั้น

เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้

เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี้

อะไรเป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ฯ

1. ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
<<<
2. รูปเสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์
<<<
3. จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ
ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ
<<<
4. จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส
<<<
5. จักขุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา
ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา
<<<
6. รูปสัญญา สัททสัญญา คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา ธัมมสัญญา
<<<
7. รูปสัญเจตนา สัททสัญเจตนา คันธสัญเจตนา รสสัญเจตนา โผฏฐัพพสัญเจตนา ธัมมสัญเจตนา
<<<
8. รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา
<<<
9. รูปวิตก สัททวิตก คันธวิตก รสวิตก โผฏฐัพพวิตก ธัมมวิตก
<<<
10. รูปวิจาร สัททวิจาร คันธวิจาร รสวิจาร โผฏฐัพพวิจาร ธัมมวิจาร
<<<


เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก
<<< = ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้
เมื่อจะดับย่อมดับในที่นี้


ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า ทุกขนิโรธอริยสัจ ฯ


[๒๙๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจเป็นไฉน

นี้คือมรรคมีองค์ ๘ อันประเสริฐ คือ

สัมมาทิฏฐิ

สัมมาสังกัปปะ

สัมมาวาจา

สัมมากัมมันตะ

สัมมาอาชีวะ

สัมมาวายามะ

สัมมาสติ

สัมมาสมาธิ

ก็สัมมาทิฏฐิเป็นไฉน

ความรู้ในทุกข์
ความรู้ในทุกขสมุทัย
ความรู้ในทุกขนิโรธ
ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา

อันนี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ ฯ

สัมมาสังกัปปะ เป็นไฉน

ความดำริในการออกจากกาม
ความดำริในความไม่พยาบาท
ความดำริในอันไม่เบียดเบียน

อันนี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ ฯ

สัมมาวาจา เป็นไฉน

การงดเว้นจากการพูดเท็จ
งดเว้นจากการพูดส่อเสียด
งดเว้นจากการพูดคำหยาบ
งดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ

อันนี้เรียกว่าสัมมาวาจา ฯ

สัมมากัมมันตะ เป็นไฉน

การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์
งดเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เขามิได้ให้
งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม

อันนี้เรียกว่า สัมมากัมมันตะ ฯ

สัมมาอาชีวะ เป็นไฉน

อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ละการเลี้ยงชีพที่ผิดเสีย
สำเร็จการเลี้ยงชีพ ด้วยการเลี้ยงชีพที่ชอบ

อันนี้เรียกว่า สัมมาอาชีวะ ฯ

สัมมาวายามะ เป็นไฉน

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เกิดฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร
ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้

เพื่อมิให้ อกุศลธรรมอันลามก ที่ยังไม่เกิด บังเกิดขึ้น
เพื่อละ อกุศลธรรมอันลามก ที่บังเกิดขึ้นแล้ว
เพื่อให้ กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดบังเกิดขึ้น
เพื่อความตั้งอยู่ ไม่เลือนหาย เจริญยิ่ง ไพบูลย์ มีขึ้นเต็มเปี่ยม
แห่งกุศลธรรม ที่บังเกิดขึ้นแล้ว

อันนี้เรียกว่า สัมมาวายามะ ฯ


สัมมาสติ เป็นไฉน

ภิกษุในธรรมวินัยนี้

พิจารณาเห็นกายในกายอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้

พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้

พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้

พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้

อันนี้เรียกว่า สัมมาสติ ฯ

สัมมาสมาธิ เป็นไฉน

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่

เธอบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น
เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่

เธอมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยกาย เพราะปีติสิ้นไป
บรรลุตติยฌานที่พระอริยทั้งหลาย สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา
มีสติอยูเป็นสุข

เธอบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์
และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่

อันนี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามิมีปฏิปทาอริยสัจ ฯ

ดังพรรณนามาฉะนี้ .......
อีกอย่างหนึ่ง .......
เธอเป็นผู้ อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆในโลก

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ ฯ


จบสัจจบรรพ


จบธัมมานุปัสสนา



[๓๐๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ผู้ใดผู้หนึ่ง

พึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้ อย่างนี้ ตลอด ๗ ปี
เขาพึงหวังผล ๒ ประการ
อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ
พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือ
เมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑

..... ปียกไว้
ผู้ใดผู้หนึ่งพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ตลอด ---- ปี

>>>
...... = ๗ ๖ ๕ ๔ ๓ ๒
---- = ๖ ๕ ๔ ๓ ๒ ๑

๑ ปียกไว้
ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ตลอด ๗ เดือน

>>>
..... เดือนยกไว้
ผู้ใดผู้หนึ่งเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้ อย่างนี้ ตลอด ---- เดือน

>>>
...... = ๗ ๖ ๕ ๔ ๓ ๒
---- = ๖ ๕ ๔ ๓ ๒ ๑

๑ เดือนยกไว้
ผู้ใดผู้หนึ่งเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้ อย่างนี้ ตลอด กึ่งเดือน

>>>

กึ่งเดือนยกไว้
ผู้ใดผู้หนึ่งพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ ตลอด ๗ วัน

>>>

>>> = เขาพึงหวังผล ๒ ประการ
อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ
พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือ
เมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก

เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์

เพื่อล่วงความโศกและปริเทวะ

เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส

เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง

เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน

หนทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ

ฉะนี้แล คำที่เรากล่าว

ดังพรรณนามาฉะนี้

เราอาศัย เอกายนมรรค กล่าวแล้ว

พระผู้มีพระภาคตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว

ภิกษุเหล่านั้น ยินดี ชื่นชมภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้ว ฉะนี้แล ฯ


จบมหาสติปัฏฐานสูตร ที่ ๙












2 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ความเร็วจิต
ลัดนิ้วมือเดียว จิตเกิดดับ แสนโกฏิขณะ ( 1 โกฏิ = 10 ล้าน)
ลัดนิ้วมือเดียว ระยะประมาณ 9 ซม. กินเวลาประมาณ 1 วินาที
แสนโกฏิ = 1,000,000,000,000 ( 1 ล้าน ล้าน )
1 GHz = 1,000,000,000 Hz = 1,000 MHz
ความเร็วจิต = 1,000 GHz
เครื่องคอมพืวเตอร์ที่ใช้กันอยู่มีความเร็วท่ีสุด 3 GHz
ความเร็วแสง = 300,000 กม./ วินาที
ความเร็วจิต = 90,000,000 กม./ วินาที
เร็วกว่าแสง 300 เท่า [ ผิดถูก ท่านผู้รู้ โปรดพิสูจน์ด้วย ]

ขอตอบว่าไม่จริงครับเนื่องจากจักรวาลมีเนื้อที่ที่มากไม่อาจจะคำนวณได้แต่ด้วยพลังจิตผมว่าความเร็วจึตนั้นมีความเร็วไร้ขีดจำกัดไม่ว่าจิตจะเดินทางไปที่ไหนไม่ว่าจะไกลเป็นล้านๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆโกฏิก็ตามใช้เวลาไม่ถึงเสี้ยววินาทีเดียวซำ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

Velocity of mind/ light = 10^12/300000=3333333.33 times